สถิติ
เปิดเมื่อ2/07/2012
อัพเดท3/09/2012
ผู้เข้าชม4987
แสดงหน้า5858
สินค้า
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




บทความ

บทที่7 เรื่องประเมินผลและรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
บทที่7 เรื่องประเมินผลและรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี     
 รหัสวิชา ง 30290       ชื่อวิชา  ยุววาณิช   
ช่วงชั้นที่  4  ชั้นปีที่  1 - 3  
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่         
 
  หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การประเมินผลและรายงานการสรุปผลการประเมิน
  1. มาตรฐานการเรียนรู้          สาระที่ ๕ : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
         1. มาตรฐาน ง ๕.๑ : ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพสุจริตอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์
         2.  ตัวชี้วัด   ง 5.1
  2. วิเคราะห์ผลการเรียนรู้
 
  1. ด้านความรู้
                            มีความรู้ และมีความสามารถในการประเมินผลการดำเนินงานธุรกิจจำลองตามแผนธุรกิจและ รายงานการสรุปผลการประเมิน  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าได้อย่างถูกต้องตามลำดับขั้นตอน        
  1.  ด้านคุณลักษณะ
                              มีแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มุ่งมั่นในการทำงาน  มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย รักชาติศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง
 
  1.   ด้านทักษะ  
มีทักษะที่จำเป็นมีประสบการณ์ ในการ Evaluation หรือการประเมินผลการดำเนินงาน ธุรกิจจำลองตามแผนธุรกิจ โดยใช้ การวิจัย  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์  ประเมินผล เพื่อดำเนินการวางแผน ตัดสินใจดำเนินธุรกิจ ภายใต้การแข่งขัน และความเสี่ยง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย


  1.  ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
              ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ความสามารถใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี   เพื่อการประเมินผลการดำเนินงานและรายงานสรุปผลการดำเนินงานประกอบธุรกิจ จำลองตามแผนธุรกิจโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   
              1.   อธิบายความหมาย  ความสำคัญ  วัตถุประสงค์  ประโยชน์ของในการประเมินโครงการ ได้
2.   บอกองค์ประกอบ และขั้นตอนในการประเมินผลโครงการได้
3.   อธิบายการประเมินโครงการโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าได้อย่างถูกต้อง
4.    สามารถวิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินการประเมินโครงการได้
5.    สามารถนำเสนอรายงานการประเมินโครงการได้อย่างถูกต้อง


จุดประสงค์การเรียนรู้  นักเรียน
              1.   อธิบายความหมาย  ความสำคัญ  วัตถุประสงค์  ประโยชน์ของในการประเมินโครงการ ได้
2.   บอกองค์ประกอบ และขั้นตอนในการประเมินผลโครงการได้
3.   อธิบายการประเมินโครงการโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าได้อย่างถูกต้อง
4.    สามารถวิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินการประเมินโครงการได้
  1.  
              6.   นักเรียนสามารถเขียนผังมโนทัศน์ อธิบายความหมาย  ความสำคัญ  วัตถุประสงค์  ประโยชน์ องค์ประกอบ และขั้นตอนการประเมินโครงการโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
 
 
         สาระสำคัญ (องค์ความรู้)
             'การประเมินผล' หมายถึงกระบวนการที่มุ่งแสวงหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า นโยบาย/แผนงาน/โครงการ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้แต่ต้นหรือไม่ และระดับใด ซึ่งในปัจจุบันการมุ่งตอบคำถามเช่นที่กล่าว จัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินผลรวบยอด  ปัจจุบันการประเมินโครงการได้ขยายวงกว้างไปสู่โครงการในสาขาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางจนการประเมินเป็นธุรกิจอีกอาชีพหนึ่งขึ้นมา เพราะในการประเมินโครงการต่าง ๆ ขององค์กรหน่วยงานหรือสถาบันหนึ่ง ๆ ต้องใช้งบประมาณมหาศาล จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาเป็นนักประเมินเพื่อนำผลนั้นมาใช้อย่างคุ้มค่า ต่อไป เป็นการสร้างองค์ความรู้ต่อยอดความคิด ให้เข้าใจหลักคิดและวิธีการดำเนินธุรกิจ จะได้รับประสบการณ์จริง เกิดทักษะความคิดอย่างเป็นระบบ  รู้จักศึกษาค้นคว้า    ความรู้ด้านต่าง ๆ   มีการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันจริงในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ประสบการณ์ที่ได้สามารถขยายผลการปฏิบัติการให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับความคิดของตนเองทั้งในปัจจุบันและ อนาคต  เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสร้างโอกาสเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ   
เนื้อหาสาระ
              1.   อธิบายความหมาย  ความสำคัญ  วัตถุประสงค์  ประโยชน์ของในการประเมินโครงการ ได้
2.   บอกองค์ประกอบ และขั้นตอนในการประเมินผลโครงการได้
3.   การประเมินโครงการโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าได้อย่างถูกต้อง
4.    วิเคราะห์  สรุปผลการดำเนินการประเมินโครงการได้

 องค์ประกอบของโครงงาน

องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้

1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียว
หรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ 

2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจน
และเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ 

3.หลักการและเหตุผล ใช้ ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็น โครงการที่
จะดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ 
          บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหาย
ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงกากว้างขวางขึ้น

4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควร เป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุ ประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม  การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงคมากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้ เพียง 1-3 ข้อ 

5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่
จะทำได้ภายในระยะเวลาทกำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คือ งานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะ ทำสิ่งใดก่อน-หลัง
หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ 

7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการปัจจุบัน
นิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน 
งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
            - เงินงบประมาณแผ่นดิน
            - เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
            - เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
  การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากรอื่น
ที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ

9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรืv
รับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็น การให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการนั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและ
ใช้ วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียมโครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป

12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

ขั้นตอนของการประเมินโครงการ 
การประเมินโครงการมีความสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้สนับสนุนงบประมาณ ในการตัดสินใจปรับปรุงหรือล้มเลิกโครงการ การกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิจัยประเมินโครงการ จึงมีความจำเป็นและควรให้มีลักษณะที่เอื้ออำนวยและตอบสนองความต้องการของผู้ ใช้ผลการประเมิน ผู้ใช้ผลการประเมินแต่ละระดับมีความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกัน  เช่น ผู้บริหารระดับสูงสนใจข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย ระดับรองลงมาสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผน ระดับปฏิบัติการสนใจข้อมูลในขั้นตอนการดำเนินโครงการ การดำเนินงานประเมินโครงการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสมจึงจะทำให้ผลการประเมินมีคุณภาพ(เชาว์  อินใย, 2553 : น. 17) 
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี ได้จำแนกขั้นตอนของการะประเมินโครงการออกเป็น 6 ขั้นตอน (เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี,2546 : น. 279 - 288  อ้างถึงใน เชาว์  อินใย, 2553 : น. 17)  ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  ก่อน ทำการประเมินโครงการผู้ประเมินจะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ  เช่น โครงการที่เสนอขออนุมัติ ถ้าเป็นโครงการนำร่อง ก็ควรศึกษาเอกสารรายงานความก้าวหน้าของโครงการ หรือถ้ามีรายงานผลการประเมินโครงการฉบับสมบูรณ์ ก็ควรนำมาศึกษา จะทำให้ผู้ประเมินได้เข้าใจความเป็นมาของโครงการ สภาพแวดล้อม วัตถุประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ  ซึ่งจะทำให้ผู้ประเมินสามารถกำหนดประเด็นการประเมินและตัวชี้วัดต่อไปได้
ขั้นตอนที่ 2  การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน  ใน ขั้นตอนนี้ผู้ประเมินจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า  จะประเมินโครงการอะไร ประเมินทำไม เพื่อใคร หรือใครเป็นผู้ใช้ผลการประเมิน ข้อมูลที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้มาจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้สนับสนุนโครงการ
ขั้นตอนที่ 3  การกำหนดขอบเขตของการประเมิน  เป็น ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะทำให้การประเมินโครงการสามารถดำเนินการ ได้ และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่จะทำการประเมิน หน่วยงานที่ต้องการติดตาม บุคคลที่ผู้ประเมินต้องสัมภาษณ์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4  การพิจารณากำหนดตัวบ่งชี้และแหล่งข้อมูล  การ กำหนดตัวบ่งชี้ในการประเมินสามารถกำหนดได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือจากตัวแบบการประเมินเชิงทฤษฎี  เช่น การกำหนดตัวบ่งชี้จากรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model หรืออาจจะพิจารณาจากความคาดหวังของผู้ใช้ผลการประเมินก็ได้ ตัวบ่งชี้มีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ในเชิงปริมาณนั้นเช่น จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละของนักศึกษาที่มีบุตร อัตราส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู เป็นต้น  ส่วนในเชิงคุณภาพนั้นเช่น ความเหมาะสม ความสอดคล้อง ประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น
การกำหนดแหล่งข้อมูลนั้น จะต้องสอดคล้องกับตัวบ่งชี้  เช่น นักประเมินต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการจากการวัดความรู้ของผู้เข้ารับ การอบรม แต่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวัด ซึ่งก็ไม่เหมาะสม ข้อมูลที่ต้องการอาจมีการบันทึกไว้แล้ว หรือต้องทำการเก็บรวบรวมขึ้นมาใหม่  เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2546 : น. 283  อ้างใน เชาว์  อินใย, 2553 : น. 17) ได้กล่าวว่า การพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อทำการสอบถามหรือสัมภาษณ์ มีแนวทางพิจารณาได้ 2 รูปแบบ คือ
(1)       รูปแบบ “จากบนสู่ล่าง” (Top Down) หมายถึง การรวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นจากผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ และบุคลากรในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ๆ  จากผู้รับผิดชอบระดับสูงไปสู่ระดับต่ำ
(2)       รูปแบบ “จากล่างสู่บน” (Bottom Up) หมายถึง การรวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ รวมทั้งกลุ่มบุคคลเป้าหมายของโครงการและกลุ่มบุคคลที่น่าจะได้รับผลกระทบจาก โครงการ โดยเริ่มจากผู้รับผิดชอบระดับผู้น้อยหรือระดับล่างไปสู่ผู้รับผิดชอบระดับ ชั้นผู้ใหญ่หรือระดับบน
ขั้นตอนที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูล  การ วิเคราะห์ข้อมูลทำได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้ประเมินเก็บรวบรวมมา  ตัวอย่างเช่น ข้อจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ใช้ค่าร้อยละ ความคิดเห็นต่อโครงการที่อยู่ในรูปมาตราส่วนประมาณค่า ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ฯลฯ  ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา  
ขั้นตอนที่ 6  การสรุปผลการประเมิน  การ สรุปผลการประเมินโครงการ ผู้ประเมินควรเน้นประเด็นที่สำคัญดังนี้คือ ผลผลิตจากโครงการ ปัญหา และข้อจำกัดของการดำเนินโครงการ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโครงการ  นอกจากนั้นควรสรุปผลโครงการไปในด้าน อื่น ๆ ด้วย (เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี, 2546 : น. 287  อ้างใน เชาว์  อินใย, 2553 : น. 18)  เช่น
(1)       การยอมรับในคุณค่าของโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย 
(2)       การขยายผลโครงการและความต้องการของโครงการที่ต่อเนื่อง  
(3)       การก่อให้เกิด “สิ่งใหม่” เช่น เทคโนโลยีหรือเอกสารทางวิชาการ  
(4)       การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางกายภาพหรือทางสังคม  
(5)       การเรียนรู้จากการปฏิบัติโครงการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  
(6)       การแพร่กระจายผลให้เป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
(7)       การพัฒนาศักยภาพหรือประสิทธิภาพของโครงการในด้านอื่น ๆ


http://www.gotoknow.org/blogs/posts/440829
http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/thai04/06/page55.html